วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
สิวเรื่องง่ายๆ ทำไมรักษาย๊ากยาก!!
ให้เลือกเอาว่าจะเป็นสิว หรือผิวใสใสดี ถ้าเลือกได้ร้อยทั้งร้อย คงไม่มีใครเลือกสิวเป็นแน่ แต่ผู้ป่วยรายนี้กลับตรงกันข้ามนะครับ เหตุอันใดหรือเธอจึงเลือกเช่นนั้นเพราะเธอรักษาผิวหน้ากับหมอคลินิกชื่อดังแห่งหนึ่ง ติดตามการรักษามาตลอด 1ปีกว่าๆ เรียกว่าไม่เคยเบี้ยวนัดหมอเลย หน้าเธอจึงได้ใสกิ๊กตามภาพก่อนรักษา(1)
(1.ก่อนรักษา)
แล้วเหตุอันใดหรือเธอจึงมีสภาพยับเยิน??ดังภาพต่อมา ก็เพราะเธอขาดยาหมอไม่ได้ เมื่อใดที่หยุดยาหมอเพียงแค่2-3วันเท่านั้น หน้าจะคัน มีตุ่มสิวขึ้นใหม่เสมอ โดยเฉพาะพักหลังๆมานี้ เธอสังเกตุว่า ผิวหน้าแพ้ง่ายมาก โดนแดดนิดหน่อยก็แสบหน้าแล้ว เธอจึงตัดสินใจ สอบถามจากคนที่รู้จริง ว่าสภาพผิวเช่นนี้คืออาการอะไร พอทราบว่าเป็นผิวที่เริ่มต้นของการติดยา(ไม่ใช่ยาบ้านะครับ แต่เป็นสารสเตียรอยด์ที่มักผสมในครีมหน้าขาวและครีมบำรุงทั่วไป) เธอจึงเลือกที่ หักดิบด้วยการเลิกใช้ครีมบำรุงเดิมอย่างเด็ดขาด และปล่อยให้สิวเห่อเต็มหน้าดังภาพ(2)
(2.หลังรักษา)
เพื่อถอนยาเดิมและจะไม่ยอมตกเป็นทาสของความโง่อีกต่อไป บัดนี้เธอชนะแล้วครับ สามารถชิตังเม ได้อย่างภาคภูมิใจ หมอขอแสดงความยินดีกับความอดทนของเธอด้วยนะครับ ท่่านใดเคยมีประสบการณ์เช่นนี้ มาร่วมแบ่งปันกันนะ แบ่งประสบการณ์ให้ความรู้แก่คนอื่นๆ สังคมของเราจะได้น่าอยู่ขึ้นเรื่อยๆนะครับ
สนใจติดต่อ โทร.089-783-9197 หรือ ที่ รพ.แม่ฟ้าหลวง (คุณจูน) 38/11-13 อาคารอโศกเพลส ถนนอโศก สุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม.
วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
โรคขนคุดหรือผื่นผิวหนังเรื้อรังที่แขน(keratosis pilaris)
โรคขนคุดหรือผื่นผิวหนังเรื้อรังที่แขน(keratosis pilaris)
โรคนี้(keratosis pilaris)ใครไม่เป็น ไม่มีวันเข้าใจหัวอกคนร่วมชะตากรรมเป็นแน่ น่าเห็นใจมากๆ ตุ่มเล็กๆแค่นี้ สาหรับคนอื่นอาจจะมองดูจิ๊บจ๊อยๆ แต่แท้จริงแล้วเป็นแผลใหญ่ในใจของคนไข้ขนคุดจริงๆ มีหลายคนมาระบายให้หมอฟัง ถึงการพลาดโอกาสครั้งสาคัญในชีวิต ก็เพราะโรคที่คนอื่นเห็นเป็นเรื่องเล็กๆนี้เองบางครั้งที่เราลูบผิวแล้วรู้สึกสากๆ คล้ายกระดาษทราย บริเวณต้นแขน หรือต้นขา ยิ่งถ้าเป็นๆหายๆเรื้อรังที่แขนแล้วล่ะก็....ให้นึกถึงโรคที่ว่า..นี้ อาการโดยทั่วไป มีลักษณะเป็นตุ่มแข็งนูนขึ้นมาบริเวณรูขุมขน เมื่อมือสัมผัสแล้วหยาบ กระด้าง บางครั้งฝรั่งเรียกว่าหนังไก่(chicken skin and goose bumps) พบบ่อยมากถึง2ใน5ของจานวนประชากรและพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเกือบ2เท่า ตัว(1) ตุ่มมักเห่อชัดเจนช่วงฤดูหนาว(5) พบได้บริเวณต้นแขนด้านนอก บริเวณต้นขา แผ่นหลัง และอาจจะพบบริเวณผิวหน้าและคิ้วได้ ซึ่งบางคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสิว สาเหตุ มักไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาเหตุจาก พันธุกรรม(autosomal dominant)และจะพบได้มากขึ้นในคนไข้ โรคผิวหนังที่มีความสัมพันธ์กับโรคภูมิแพ้ (Atopic dermatitis)(2)หรือในคนไข้โรคคล้ายเกล็ดปลา(Icthyosis vulgaris)
การรักษา เนื่องจากมีขี้ไคลอุดตันสะสม และมีการระคายเคืองบริเวณรูขุมขนอย่างเรื้อรัง ส่วนใหญ่จึงใช้การขัดถูออกด้วยสารต่างๆเช่นหินหรือวัตถุหยาบๆ หรือฟองน้านวด บางคนใช้วิธีแวกซ์ขน บ้างก็โกนหรือถอน(ทั้งไฟฟ้า+แหนบ) บ้างก็scrubขัดผิวหรือใช้ใยบวบ...วิธีการรักษาที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป มักไม่ได้ผล บางคนชอบผลิตภัณฑ์สมุนไพร เช่นน้ามันมะพร้าวบริสุทธิ์,ว่านหางจระเข้,สมุนไพรแก้ขนคุด,สเปรย์กาจัดขน ทุกรูปเเบบแล้ว ก็ไม่ดีขึ้น...lotionบารุง,moisturizerก็แล้ว ก็ยังไม่เห็นจะหาย บางทีก็ลองรับประทานวิตามินรวมหลายชนิดทั้งที่ซื้อตามร้านขายยาและขายตรง ทั้งนี้ถ้ามาในรูปการกิน ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากสิ่งที่รับประทานอาจมีอันตรายต่อตับ ไตหรืออวัยวะภายใน อาจทาให้เกิดพิษได้ และวิธีสุดท้ายก็มาปรึกษาหมอ อาจได้รับยาทาเพื่อช่วยผลัดเซลล์ผิว ครีมบารุงผิวเข้มข้น, กรด lactic, กรดวิตามินเอ, และโลชั่นที่มีส่วนผสมของ AHA หรือ Urea อาจช่วยบารุงผิวให้ เนียนนุ่มขึ้นได้บ้างชั่วคราว แต่ไม่นานก็กลับเป็นใหม่อีก แม้กระทั่งสเตียรอยด์ก็เป็นที่นิยม แต่ห้ามใช้นานเกินไปเพราะผิวจะเสียและตัวโรคยิ่งลุกลามมากขึ้น โดยมากมักเป็นๆหายๆ เรื้อรัง(3) เนื่องจากเรายังไม่ทราบสาเหตุของโรคที่แท้จริงจึงยังไม่มีการรักษาใดที่หาย ขาดถาวร มีรายงานการใช้เลเซอร์ Pulsed dye(595nm)ได้ผลดี(2) แต่ผิวจะแดงคล้าไหม้ หลังทาอยู่ประมาณ20วัน ในรายงานยังระบุด้วยว่า ต้องทาซ้า
ประมาณ7 ครั้ง สรุปคือผิวหน้าต้องผ่านการแดงคล้าไหม้ อยู่ 7รอบ ขนคุดจึงจะดีขึ้น ซึ่งดูแล้วคงไม่เหมาะกับพวกเรานัก เลเซอร์อีกตัวคือ KTP 532(Potassium Titanyl Phosphate) ซึ่งเสี่ยงต่อการ ดา คล้าและไหม้ ของผิวหนังได้ง่ายและนาน(3) จะเห็นว่ายังไม่มีวิธีรักษาใดได้ผลดีจริงและปฏิบัติได้(4)
2 ปีกว่าที่หมอได้ดูแลรักษาผู้ป่วย โดยใช้เทคโลโลยี 1064-nm long-pulsed Nd:YAG นี้ รักษาโรคkeratosis pilaris มากว่า100ชีวิต พบคนไข้บางคนเป็นน้อย บางคนเป็นมาก ถึงขั้นเป็นตุ่มแดงมีหนองอักเสบก็พบได้ บ่อยๆ ผลการรักษาส่วนใหญ่คนไข้พอใจถึงพอใจมาก แต่ถ้ายังไงเรามีอาการไม่มาก ผมแนะนาให้รักษาวิธีง่ายๆด้วยตนเองก่อน จนกว่าจะมีอาการขั้นสุดท้ายแล้วไม่หายจริงๆค่อยคิดถึงเลเซอร์ ลองมาดูรูปเปรียบเทียบก่อนและหลังรักษากันนะครับ
ภาพโรคขนคุดก่อนการรักษา หลังการรักษา3สัปดาห์
.http://www.mfu.ac.th/school/anti-aging/
..http://www.mfu.ac.th/school/anti-aging/admin/uploadCMS/news/DdMon45044.pdf.
น.พ.จรัสศักดิ์ เรืองพีระกุล
อาจารย์ประจำ รพ.มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพฯ (อโศก)
โทร. 02-6644360, 02-6642295(More contact:JARATSAK@GMAIL.COM)
*1. Poskitt L, Wilkinson JD. Natural history of keratosis pilaris. Br J Dermatol. Jun 1994;130(6):711-3.โทร. 02-6644360, 02-6642295(More contact:JARATSAK@GMAIL.COM)
*2. Kaune KM, Haas E, Emmert S, Schon MP, Zutt M. Successful treatment of severe keratosis pilaris rubra with a 595-nm pulsed dye laser. Dermatol Surg. Oct 2009;35(10):1592-5
*3. Dawn G, Urcelay M, Patel M, Strong AM. Keratosis rubra pilaris responding to potassium titanyl phosphate laser. Br J Dermatol. 2002 Oct;147(4):822-4.
*4. Andreas WG,Treating keratosis pilaris . J Am Acad Dermatol.Vol. 47, Issue 3:457
* 5.Arch Dermatol. Dec 2006;142(12):1611-6
วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
Psoriasis,more treatment more multiply
โรคสะเก็ดเงิน(Psoriasis) ยิ่งรักษา ยิ่งลุกลาม?
โดยทั่วไปมักเข้าใจว่า เป็นโรคเรื้อรังและยังไม่มีวิธีใดๆรักษาให้หายได้ แต่เมื่อเราเริ่มดูแลรักษา โรคก็ไม่ควรลุกลามมากกว่าเดิม ผื่นควรจะทรงตัวและดีขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว กลับตรงกันข้ามเพราะอะไร แสดงว่าการรักษาที่มีในปัจจุบันยังไม่ถูก ที่ถูกทางเท่าที่ควร
บทความก่อนหน้านี้(โรคสะเก็ดเงินPsoriasis)ได้เขียนให้เห็นถึง สาเหตุที่พบบ่อยๆของโรคสะเก็ดเงิน การดูแลรักษาและอันตรายจากยาในกลุ่มBiologic Treatmentsหรือกลุ่มยาชีวภาพ ซึ่งให้ผลการรักษาที่เร็วมาก แต่ไม่หายขาด รวมทั้งผลข้างเคียงค่อนข้างมาก มาวันนี้จะพูดถึง ผู้ป่วยท่านหนึ่ง ชื่อน้องบี(นามสมมติ)เป็นโรคสะเก็ดเงินมา19ปี บีบอกว่า17-18ปีก่อน ผื่นของเธอมีจุดเพียงจุดเดียว ไม่ลุกลาม
* รูปที่1 ผื่นจุดเดียว ไม่ลุกลามนาน17ปี
** รูปที่2 แผลเป็นที่ทำให้รู้ว่าเป็นสะเก็ดเงิน
ตอนนั้นบียังไม่รักษาเพราะยังไม่ทราบว่าเป็นอะไร หลังจากเธอได้ตัดชิ้นเนื้อ(skin biopsyรูป2) เมื่อ1ปีที่แล้ว แพทย์บอกว่า เป็นสะเก็ดเงิน บีจึงเริ่มทายาสเตียรอยด์มาตลอด พอทาผื่นก็ยุบ พอหยุดยาตุ่มก็เห่อ หลังจากเริ่มรักษาไปได้1ปีเศษ ผื่นที่เคยเป็นเพียงเล็กน้อยก็ลุกลามมากกว่าเดิมเกิน100เท่า มากกว่า 100ตุ่ม (รูป3)
***รูปที่3 ผื่นเห่อลุกลามหลังการรักษาประมาณ1ปี
แตกต่างจากผู้ป่วยอีกคนหนึ่งได้เป็นสะเก็ดเงินมา20กว่าปีแล้ว ผื่นกลับทรงตัว คงที่ เพราะคุณเอ(นามสมมติ)ถ่ายทอดประสบการณ์ให้อย่างน่าฟังว่า ...”ผมไม่เคยทาสเตียรอยด์เลย เพราะรู้ว่ามันไม่ดี” จากรูป4และ5....จะเห็นความแตกต่างกับน้องบีได้อย่างชัดเจน
****รูป4และ5คุณเอ(นามสมมติ)เป็นโรคสะเก็ดเงินมา20กว่าปี ผื่นทรงตัว คงที่
ที่ผมได้เรียกให้เกียรติว่าเป็นผู้ป่วย ท่านนี้เพราะเธอมีน้ำใจงดงาม ตามปกติคนไข้ทั่วไปไม่ต้องการเปิดเผยเรื่องราวของตนเองโดยเฉพาะเรื่องโรคสะเก็ดเงิน ใครๆก็อยากปกปิดไว้แต่เพียงผู้เดียว แต่เธอท่านนี้เสนอว่า ยินดีขอเปิดเผยตนเองเป็นวิทยาทานเพราะสงสารคนอื่นที่จะต้องมาร่วมชะตากรรมเดียวกัน หมอซาบซึ้งในน้ำใจเธอมาก จึงต้องรีบนำเรื่องราวที่น่าประทับใจเช่นนี้ มาถ่ายทอดให้คนไข้โรคสะเก็ดเงินอื่นๆ ที่เคยเป็นมาแล้ว เป็นอยู่ในปัจจุบันและที่กำลังจะเป็น ตามมาอีกในอนาคต ให้ได้รับทราบโดยทั่วกัน
บทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ เพื่อให้คนไข้โรคสะเก็ดเงิน ได้ตระหนักถึงสิ่งรอบๆตัวเราที่บางทีถ้าไม่สังเกตก็จะไม่ทราบ แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่เป็นสะเก็ดเงินแล้วจะต้องเป็นแบบนี้ทั้งหมดทีเดียวนะครับ หวังใจอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับทุกคนที่เข้ามาอ่าน คุณความดีนี้จะมีเพียงไร ขออุทิศให้ครูบาอาจารย์ของหมอทุกๆท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์ใหญ่(คนไข้ท่านนี้)นี่เอง.......http://www.mfu.ac.th/school/anti-aging/
..http://www.mfu.ac.th/school/anti-aging/admin/uploadCMS/news/DdMon45044.pdf.
น.พ.จรัสศักดิ์ เรืองพีระกุล..http://www.mfu.ac.th/school/anti-aging/admin/uploadCMS/news/DdMon45044.pdf.
อาจารย์ประจำ รพ.มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพฯ (อโศก)
โทร. 02-6644360, 02-6642295
(More contact:JARATSAK@GMAIL.COM)
โทร. 02-6644360, 02-6642295
(More contact:JARATSAK@GMAIL.COM)
ติดตามเพิ่มเติมที่นี่...Curable Psoriasis?
http://jaratsak.blogspot.com/2011_08_01_archive.html
และที่นี่... http://www.mfu.ac.th/other/hospital-bkk/admin
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)