ฝ้า (Melasma) 2555
โดย นพ.จรัสศักดิ์ เรืองพีระกุลและทีมงานแพทย์วิจัย
ฝ้าเป็นความผิดปกติของผิวหนัง ซึ่งเกิดจากเซลล์เม็ดสี (Melanocytes) สร้างเม็ดสีดำ (melanin) มากเกินพอดี ทำให้เกิดรอยคล้ำๆเป็นปื้นๆหรือวงสีน้ำตาล มักเกิดบริเวณใบหน้าโดยเฉพาะตำแหน่งที่ถูกแสงแดดมาก เช่น บริเวณโหนกแก้ม,จมูก,หน้าผาก,คาง และ บริเวณเหนือริมฝีปาก ถ้าเป็นมาก อาจกระจายทั่วหน้า มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และ พบมากในวัยกลางคน
สาเหตุของฝ้า
ส่วนใหญ่ฝ้าที่พบในเมืองไทย อาจมีประวัติเคยรักษากับหมอผิวหน้า บางคนเคยใช้ครีมหน้าขาว ครีมหน้าใส หรือ ครีมที่ลอกละลายฝ้า หรือครีมลดหน้าดำชนิดแรงมาก่อน ทำให้หน้าบางและเป็นฝ้าได้ง่าย เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะ ผิวหนังเป็นสิ่งห่อหุ้มกาย ที่ช่วยปกป้องภัยจากภายนอก ผิวหนังก็เปรียบเหมือนรั้วบ้าน ถ้าเรารื้อรั้วหรือเหล็กดัดออก บ้านเราก็จะดูสวยเด่น(คล้ายหนังฝรั่งที่บ้านไม่มีรั้ว) แต่สัตว์ร้ายหรือโจรผู้ร้ายก็จะเข้ามาทำลายทรัพย์สินได้ฉันใด การที่เรารักษาฝ้าโดยไม่ถูกวิธี ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็รังแต่จะทำให้เป็นฝ้า หน้าดำมากขึ้น ฉันนั้น
นอกจากนี้ต้นเหตุ(๑)อื่นๆได้แก่
* แสงแดด Ultraviolet A และ B จะกระตุ้นเซลล์เม็ดสี ให้ทำงานผิดปกติ
* ฮอร์โมน ปริมาณฮอร์โมน ที่เพิ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ ยาเม็ดคุมกำเนิด หรือฮอร์โมนทดแทนในวัยทอง สามารถกระตุ้นการเกิดฝ้าได้
* เครื่องสำอาง การแพ้ส่วนผสมเครื่องสำอาง เช่น น้ำหอม สี กลิ่นหรือ สารกันเสียที่เป็นส่วนประกอบ ก็เป็นสาเหตุของฝ้าที่พบได้บ่อยๆ
* พันธุกรรม คนเอเซีย มักเป็นฝ้ามากกว่าชาติอื่นและคนในครอบครัวเดียวกันเป็นฝ้า พี่น้องมีโอกาสเป็นฝ้าด้วยประมาณ ๑ ใน ๕ ถึง ๑ ใน ๑o
* พันธุกรรม คนเอเซีย มักเป็นฝ้ามากกว่าชาติอื่นและคนในครอบครัวเดียวกันเป็นฝ้า พี่น้องมีโอกาสเป็นฝ้าด้วยประมาณ ๑ ใน ๕ ถึง ๑ ใน ๑o
* ยากันชักบางชนิด เช่น ไฮแดนโทอีน(Hydantoin) ,ไดแลนติน(Dilantin)
การรักษา
แบ่งเป็น ๓ ขั้นตอนได้แก่
๑.การเสริมสร้างผิวใหม่ให้แข็งแรง ด้วยการรับประทานผัก ผลไม้ ที่อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระนานาชนิด ทั้งนี้เพื่อลดการเป็นซ้ำ ของฝ้า หน้าดำ ด้วยการเลิก หรือหยุดการใช้ครีม ที่มีส่วนผสมของสารลอกหน้าต่างๆ เช่น กรดผลไม้,วิตามิน เอ หรือแม้กระทั่ง สารสเตียรอยด์ต่างๆ ที่แฝงมาในครีมบำรุงทุกชนิด
๒.ปกป้องผิวจากแสงแดดในช่วงเวลา10.00-16.00 น.ด้วยการใช้ ยากันแดด,หมวก,ร่ม
๓.ควรหลีกเลี่ยงสาเหตุดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่ถ้าหากเป็นฝ้าแล้ว ควรหาวิธีแก้ไขดังนี้
* ทายากลุ่ม Azelaic (๒), Kojic , Arbutin, Licorice,วิตามินซี ทั้งนี้ต้องระมัดระวังในเรื่องความแรงของยาและระยะเวลาที่ใช้
* รับประทานวิตามิน ที่มีฤทธิ์ Antioxidant เช่น วิตามิน เอ และวิตามิน อี เพื่อลดความหมองคล้ำที่เกิดจากแสงแดด
* รักษาด้วยเลเซอร์ Q-switched Nd-YAG Laser(๓) เป็นเลเซอร์ที่มีจำเพาะเจาะจงลงไปที่ กระและฝ้าโดยตรง เลเซอร์นี้จะทำงานโดยการทำลายเม็ดสี เซลล์สี ให้แตกกระจายออก แล้วเม็ดเลือดขาวจะมาเก็บกินทำลายซากสีเหล่านี้ ทำให้ฝ้าค่อยๆ จางลง แต่มีดีก็มีเสีย หลายคนรักษาแล้วหน้าดำมากกว่าเดิม เพราะบางคนกังวลมากจึงรักษาด้วยเลเซอร์บ่อยเกินไป หรือบางครั้งคุณหมอที่รักษาใช้พลังงานคลื่นแสงแรงเกินพอดี ป้จจุบันเลเซอร์ได้ถูกพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ โดยการนำหลักการ แฟรกชั่นนอลเลเซอร์ (fractional laser) ซึ่งกำลังได้รับความนิยม เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ให้ผลการรักษาที่ดี ลดระยะพักฟื้น (down time) และผลข้างเคียงลดลงเมื่อเทียบกับเลเซอร์ประเภทเดิม(๔)
ล่าสุดทางโรงพยาบาล ได้นำเข้าเลเซอร์รุ่นใหม่ เป็น Fractional Q-switched Nd-YAG Laser ใช้รักษาฝ้าและรอยดำโดยเฉพาะ เป็นโปรแกรม Miracle Melasma Machine(Triple M) นับเป็นเลเซอร์แห่งอนาคต ปลอดภัย และเป็นความหวังใหม่ของคนเป็นกระ ฝ้า หรือหน้าดำ
ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยโปรแกรม Miracle Melasma Machine
กิตติกรรมประกาศ
ผู้เขียนขอขอบคุณ พญ.แพรวพธู บุญคุ้ม นักศึกษาปริญญาโท สาขาตจวิทยา สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (กทม.)ที่ได้ช่วยรวบรวมข้อมูลประกอบการเขียนในครั้งนี้
เอกสารอ้างอิง
* 1.กนกวลัย กุลทนันทน์. Pigmentary disorders โรคผิวหนังในเวชปฏิบัติปัจจุบัน Dermatology 2010 (100-119).
* 2. Rendon, M. & Berneburg, M. (2006). Treatment of melasma. J AM Acad Dermatol, 54, S272-81.
* 3. Xi, Z., Gold, M.H., Zhong, L. & Ying, L. (2011). Efficacy and safety of Q-switched 1,064-nm Nd:YAG laser treatment of melasma. Dermatol Surg, Jul;37(7):962-70.
* 2. Rendon, M. & Berneburg, M. (2006). Treatment of melasma. J AM Acad Dermatol, 54, S272-81.
* 3. Xi, Z., Gold, M.H., Zhong, L. & Ying, L. (2011). Efficacy and safety of Q-switched 1,064-nm Nd:YAG laser treatment of melasma. Dermatol Surg, Jul;37(7):962-70.
* 4. Brightman, L.A., Brauer, J.A., Anolik, R., Weiss, E., Karen, J., Chapas, A., Hale, E., Bernstein, L. & Geronemus, R.G. (2009). Ablative and fractional ablative lasers. Dermatol Clin, 27, 479-89.
บทความเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง
โรคขนคุดหรือผื่นผิวหนังเรื้อรังที่แขน(keratosis pilaris)
โรคสะเก็ดเงิน(Psoriasis) หายขาดได้ด้วยตนเอง
กำจัดขนด้วยเจ็นเทิลแย็ก
โรคสะเก็ดเงิน(Psoriasis) ยิ่งรักษา ยิ่งลุกลาม?
รักษาสิวให้หายเร็วๆไวๆ พิษภัยใกล้ตัวที่ต้องรู้
สนใจติดต่อ โทร.089-783-9197,083-785-6941 หรือ ที่ รพ.แม่ฟ้าหลวง (คุณน้อย) 38/11-13 อาคารอโศกเพลส ถนนอโศก สุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. รพ.มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพฯ (อโศก)
โทร. 02-6644360, 02-6642295
โทร. 02-6644360, 02-6642295