วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ความรู้สึกของ นศพ.ที่มีขึ้นหลังจากการออกตรวจ OPD กับ อ.จรัสศักดิ์ เรืองพีระกุล



ต่อไปนี้เป็นความรู้สึกของ นศพ.ที่มีขึ้นหลังจากการออก OPD กับ อ.จรัสศักดิ์ เรืองพีระกุล

                "....จากการออกตรวจคนไข้กับอาจารย์จรัสศักดิ์ ทำให้ได้เจอเคส psoriasis หลากหลายเคสมาก ซึ่งแต่ละเคสมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก ทั้งในแง่ตัวโรค การรักษา และด้านจิตใจของผู้ป่วย ซึ่งปกติแล้วโดยส่วนตัวข้าพเจ้า ไม่เคยเห็นเคส psoriasis ที่มีระยะโรคสงบได้ดีขนาดนี้ อย่างน้อยก็ยังพบผื่นรอยโรคอยู่บ้าง แต่ในการออก OPD ครั้งนี้ ได้เห็นหลายเคสที่มีระยะสงบของโรคแบบที่ไม่ค่อยเห็นผื่นแล้ว ซึ่งตัวผู้ป่วยเอง ก็มีความสุขมาก ซึ่งปกติส่วนใหญ่จะเจอผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่ดูซึมเศร้า ดูเป็นกังวล แต่ผู้ป่วยที่นี่ ดูมีความสุข ไม่ค่อยเป็นกังวล ซึ่งเป็นผลจากการรักษาที่มีประสิทธิภาพ โดยไม่ได้รักษาแค่ที่ตัวโรค แต่เป็นการรักษาโดยให้กำลัง ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยร่วมด้วย ซึ่งเป็นคำแนะนำในการดูแลตัวเองในด้านอาหาร การออกกำลังกาย เป็นต้น อีกทั้งที่นี่ยังมีการรวมกลุ่มไลน์ ผู้ป่วยที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน ทำให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสปรึกษาเกี่ยวกับตัวโรคซึ่งกันและกัน มีโอกาสได้ช่วยให้กำลังใจ เสริมสร้างกำลังใจให้แก่กัน ซึ่งเป็นวิธีที่ดีมากๆ

                การออกOPDในครั้งนี้ ข้าพเจ้ามีความประทับใจเป็นอย่างมาก ทั้งการรักษาผู้ป่วย การดูแลรักษาด้านจิตใจ การร่วมกลุ่มทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นการรักษาแบบเป็นองค์รวม ทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและมีจิตใจที่เข้มแข็ง พร้อมที่จะต่อสู้กับตัวโรคต่อไปอย่างมีความสุข"......   จากใจ นศพ.วรรณวรางค์  คล่องดี
 ความรู้ต่อไปนี้ เป็นการรวบรวม จากน้องนศพ. แต่การรักษาแบบใหม่ ไม่ใช่นะ เหมือนพลิกหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว...ลองอ่านดูนะ
Psoriasis
 เป็นโรคทางผิวหนังที่พบบ่อยมาก พบประมาณร้อยละ 1-3 ของประชากรโลก พบมากในคนผิวขาว 
สาเหตุและพยาธิกำเนิด
-         systemic, inflammatory, autoimmune T-cell mediated disease
-         พันธุกรรมมีผลในการเกิดโรค
-         ตัวกระตุ้นในการเกิดผื่นที่สำคัญคือ physical trauma ซึ่งทำให้เกิดรอยโรคขึ้นใหม่ “Koebner phenomenon” , การติดเชื้อ เช่น streptococcus, HIV ยา เช่น กลุ่ม beta- blocker, lithium,ACEI และความเครียด เป็นต้น
ลักษณะทางคลินิก มีหลายแบบ ได้แก่
  1. Plaque-type psoriasis (psoriasis vulgaris) พบบ่อยที่สุด ผื่นมีลักษณะหนา ขอบเขตชัด สีแดงสด มีขุยสีขาวขุ่นหรือสีเงิน เมื่อใช้เล็บขูดสีขาวจะหลุด ถ้าขูดแรง จะมีจุดเลือดออกใต้ผิวหนัง (Auspitz’s sign) พบบ่อยบริเวณข้อศอก เข่า หนังศีรษะ หลังหู ท้ายทอย สะดือ มือ เท้า
  2. Guttate psoriasis (eruptive psoriasis) พบบ่อยในเด็ก อาจพบหลังติดเชื้อ Streptococcus ผื่นจะมีขนาดเล็ก กะจายทั่วตัว
  3. Pustular psoriasis เป็น sterile pustule อยู่บนผื่นแดงของโรคสะเก็ดเงิน
  4. Erythrodermic psoriasis เป็นผื่นแดงกระจายทั่วตัว มีขุยไม่มากเหมือน plaque type
  5. Flexural psoriasis (inverse psoriasis) รอยโรคจะอยู่บริเวณศอก ข้อพับต่างๆ
รอยโรคที่เล็บ อาจพบถึงร้อยละ 50 ของผู้ป่วย มีลักษณะดังนี้
  1. pitting : หลุมเล็กๆบน nail plate พบบ่อยสุด
  2. oil spot : เป็นวงสีเหลืองอยู่ใต้เล็บ
  3. subungual hyperkeratosis : ผิวหนังใต้เล็บหนา ขรุขระ มีสีผิดปกติ
  4. onycholysis : ตัวเล็บแยกจากผิวหนัง
  5. onychodystrophy: แผ่นเล็บเสียมาก ขรุขระ หงิกงอ
และนอกจากรอยโรคที่ผิวหนังและเล็บแล้ว อาจมีข้ออักเสบร่วมด้วย (psoriasis arthritis) อาจเป็นได้ทั้งข้อเล็กและข้อใหญ่ก็ได้
การวินิจฉัย
                จากการตรวจร่างกาย ถ้าไม่น่ใจอาจตรวจทางจุลพยาธิวิทยา ซึ่งจะพบ parakeratosis ในชั้น stratum corneum ร่วมกับ neutrophil infiltrate


การวินิจฉัยแยกโรค
                Pityriasis rosea
                Seborrheic dermatitis
Pityriasis rubra pilaris
LE
การรักษา
   หลักการ
  1. พิจารณาว่าเป็นมากหรือน้อย ถ้า <10% BSA ให้ใช้ยาทา แต่ถ้า >20%BSA ให้ยับประทาน,ยาฉีด, phototherapy
  2. เลือกยาให้เหมาะสมกับบริเวณที่มีรอยโรค
  3. วางแผนการรักษาเป็นช่วง
  4. คำนึงถึงผลข้างเคียงในระยะยาว
ยารักษา psoriasis ที่สำคัญคือ
                ยาทา corticosteroid, tar preparation , anthralin, vit D, calcineurin inhibitors, salicylic acid, retinoid
                ยารับประทาน  metrotrexate , infliximab, adalimumab, ustekinumab
การฉายรังสีและเลเซอร์
                UVB, PUVA, Laser
Prognosis
                เป็นโรคที่ไม่หายขาด มีผื่นขึ้นๆยุบๆ   สรุปจาก นศพ.วรรณวรางค์  คล่องดี


                      











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น