น.พ.จรัสศักดิ์ เรืองพีระกุล
อาจารย์ประจำ รพ.มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพฯ (อโศก)
รพ.แม่ฟ้าหลวง 38/11-13 อาคารอโศกเพลส ถนน อโศก สุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110
รพ.แม่ฟ้าหลวง 38/11-13 อาคารอโศกเพลส ถนน
เมื่อเอ่ยถึงเอ็กไซเมอร์ เลเซอร์ หลายๆคนคงนึกถึงการทำเลสิก ซึ่งจะใช้เครื่องเลเซอร์นี้ในการผ่าตัดรักษาสายตาสั้น หรือสายตายาว และสำหรับเรื่องที่จะกล่าวถึงนี้ก็ใกล้เคียงกัน แต่ไม่เหมือนกันทั้งหมด สืบเนื่องจากการรักษาโรคผิวหนังเช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคด่างขาว ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดที่ได้ผลชัดเจนหรือรักษาหายขาดได้ ทีมีแพร่หลายนอกจากการใช้ยาทารักษาแล้ว ในรายที่รอยโรคตอบสนองต่อการรักษาไม่ดี หรือรอยโรคกระจายกว้างมาก การฉายแสงอัลตราไวโอเลตชนิด A (ความยาวคลื่น 320-400 นาโนเมตร) หรือแสงอัลตราไวโอเลตชนิด B (ความยาวคลื่น 290-320 นาโนเมตร) จะเข้ามามีบทบาทในการรักษาร่วมและให้ผลการรักษาที่ดีขึ้นได้บ้าง แต่มีข้อเสียคือ การเข้าตู้ฉายแสงอัลตราไวโอเลตอาจทำให้ผิวหนังส่วนที่ดีได้รับผลข้างเคียงจากการรักษา เช่น ผิวหนังแดงคล้ำ อาจไหม้ หรือเป็นมะเร็งผิวหนังในภายหลังได้
ในปัจจุบัน จึงมีการพัฒนา การรักษาด้วยแสงให้จำเพาะเจาะจงต่อชนิดชองรอยโรคมากขึ้น สามารถจำกัดพื้นที่การรักษาเฉพาะบริเวณรอยโรคได้โดยตรง เพื่อลดผลกระทบต่อผิวหนังที่ปกติบริเวณข้างเคียงให้น้อยที่สุด โดยวิวัฒนาการล่าสุดของการใช้แสงรักษาดังกล่าวหมอขอเรียกว่า เลเซอร์แสงธรรมชาติ (เพราะเป็นแสงอาทิตย์ส่วนดี ช่วยกระตุ้นวิตามิน D และส่งเสริมการสร้างกระดูก) หรือ เอกไซเมอร์ เลเซอร์ดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว Link ที่นี่...Curable Psoriasis? Excimer Laser มีความยาวคลื่นแสง 308 นาโนเมตร (193nmในเลสิก) มีคุณสมบัติในการทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวผิดปกติซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดผื่นอักเสบที่ผิวหนัง จึงได้มีการนำมาใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1997 โดยนำมาใช้รักษาโรคสะเก็ดเงิน ผลการรักษาให้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ โดยรักษา 1-3ครั้ง/สัปดาห์เป็นเวลาประมาณ 4-8 สัปดาห์ และผื่นอาจกลับเป็นขึ้นใหม่บ้าง ในเวลาประมาณ 4-6 เดือนหลังจากสิ้นสุดการรักษา
สำหรับโรคด่างขาว เลเซอร์ชนิดนี้จะไปกระตุ้นเซลล์สร้างเม็ดสี(melanocyte) ที่อยู่บริเวณรากขนให้เคลื่อนตัวมาอยู่บริเวณชั้นผิวหนังบริเวณรอยโรค ผลการรักษาได้ผลดี พบการกลับมาของสีผิวตั้งแต่ 57-100% ภายหลังการรักษา โดยเฉพาะรอยโรคบริเวณใบหน้าที่มีการกลับมาของสีผิวเกือบ 100% โดยทำการรักษา 1-3 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 1-6 เดือน และมีการรายงานการกลับมาของรอยโรคด่างขาวประมาณ 15% ที่เวลา 1-3 ปี หลังจากสิ้นสุดการรักษา ผลข้างเคียงหลังการรักษาที่พบได้ ไม่รุนแรง มักพบเป็นเพียงรอยแดงชั่วขณะ อาการอื่นๆ เช่น ตุ่มพองหรืออาการคันพบได้น้อยมาก ส่วนข้อห้ามสำหรับการใช้ Excimer laser คือ ผู้ที่มีภาวะแพ้แสง (Photosensitization) นอกจากนี้ยังมีโรคอื่นๆ อีกที่นำประยุกต์รักษาได้ ได้แก่ ภาวะผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบ ( Atopic dermatitis ) และ ภาวะผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata ) ซึ่งให้ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจเช่นกัน
U.S. FDA หรือองค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับรองการใช้เลเซอร์ชนิดนี้ ในการรักษา โรคสะเก็ดเงินและโรคด่างขาวแล้ว เป็นเลเซอร์ชนิดที่มี ความแม่นยำสูง โดยไม่ก่อให้เกิดความร้อนหรือเกิดการทำลายเนื้อเยื่อ บริเวณข้างเคียง จึงมีความปลอดภัยสูง และมีผลข้างเคียงน้อย โดยเฉพาะเครื่องเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) รุ่นใหม่นี้ มีคุณสมบัติที่โดดเด่น มากกว่าเครื่องเลเซอร์รุ่นอื่นๆ คือ มีความละเอียดและแม่นยำสูงมาก(Aiming Beam) และด้วยความโดดเด่นที่ขนาดและลักษณะของจุดยิงของเลเซอร์ ทำให้พลังงานออกมาสม่ำเสมอ (Flat top Beam) ทำให้เพิ่มความมั่นใจและความปลอดภัยได้เป็นอย่างดี
ขณะนี้ ทางโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพฯ ได้เปิดให้บริการเลเซอร์รุ่นใหม่ตัวนี้ ทั้งโรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) โรคด่างขาว (Vitiligo) ภาวะผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ ( Atopic dermatitis,Eczema ) ภาวะผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata ) ทั้งงานบริการตรวจรักษา และงานวิจัยเพื่อคนไทยโดยทั่วไป
กิตติกรรมประกาศ
ผู้เขียนขอขอบคุณ พญ.ลาวัณย์ฉวี ยรรยงเวโรจน์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาตจวิทยา สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (กทม.)ที่ได้ช่วยรวบรวมข้อมูลประกอบการเขียนในครั้งนี้
สนใจติดต่อ โทร.089-783-9197, 026644360 หรือ ที่ รพ.แม่ฟ้าหลวง (คุณน้อย) 38/11-13 อาคารอโศกเพลส ถนนอโศก สุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม.
เอกสารอ้างอิง
1. Passeron & Ortonne, (2006) Use of the 308-nm excimer laser for psoriasis and vitiligo ,
Clinics in Dermatology, 24(1);33–42
Clinics in Dermatology, 24(1);33–42
2. J Am Acad Dermatol. 2009Mar;60(3):470-7
3. J Am Acad Dermatol. 2010 Jan;62(1):114-35