วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ผื่นผิวหนังอักเสบ(ECZEMA) หายได้ไหม? ถ้าไม่ใช้สเตียรอยด์









โรคผื่นผิวหนังอักเสบ ECZEMA หรือ DERMATITIS
เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยที่สุดชนิดหนึ่ง มักมีอาการผื่นบวมแดง อาจมีตุ่มน้ำ มีน้ำเหลืองหรือตกสะเก็ดได้ ในบางคนถ้าเป็นนานๆผิวหนังจะหนามีสีคล้ำน้ำตาลจนถึงดำได้ เป็นได้ทั้งที่ใบหน้า ขา แขน ลำตัว หรือแม้กระทั่งในร่มผ้า และมักจะมีอาการคันเป็นสาเหตุสำคัญ ซึ่งจะนำให้เราไปพบแพทย์






สาเหตุที่พบได้บ่อย
 

1.ผื่นแพ้อาหารและเครื่องดื่ม เช่น อาหารทะเล,ของหมักดอง แอลกอฮอล์,ไวน์,เบียร์
2.ผื่นแพ้สัมผัส เช่น แพ้น้ำ,แพ้เข็มขัด,แพ้ฝุ่นหรือมลภาวะ,แพ้เกสรดอกไม้,แพ้ผงซักฟอก
3.ผื่นแพ้กรรมพันธ์ เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาภูมิไวเกินของร่างกาย เช่น ผื่นอะทอปิคมักพบในวัยเด็ก ส่วนมากจะหายเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่



การรักษา

1. หลีกเลี่ยงสาเหตุ
2. รักษาตามอาการและป้องกันสภาวะแทรกซ้อน
3. เข้าใจถึงการดำเนินโรค ติดตามป้องกันจนถึงที่สุดของโรค






สาเหตุที่ทำให้โรคเรื้อรัง  
1. ผู้ป่วยหรือแพทย์ไม่ทราบต้นเหตุของโรค จึงทำให้โรคไม่หาย
2. ผื่นเห่อมากขึ้นจากการรักษาด้วยตนเองแบบผิดๆ เช่น ทายาแก้อักเสบเช่นสเตียรอยด์ ทำให้ผิวบางและโรคลุกลาม หรืออาจจะแพ้ยาที่ทา
3. เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของผื่นผิวหนังอักเสบแต่ละชนิด คือสามารถลามออกไปเป็นวงกว้าง 
การรักษาเฉพาะที่ 


1.ยากินแก้คัน เช่นยาต้านฮิสตามินสามารถลดอาการคันได้พอสมควร แต่ต้องระวังในผู้ที่ขับขี่ยวดยาน อาจหลับในได้ จึงควรพิจารณาให้ยาทาแก้คันจะดีกว่า

2.ยาแก้การอับเสบ ได้แก่ ยาทาหรือยากินสเตียรอยด์ซึ่งจะทำให้ผื่นยุบลงอย่างรวดเร็วภายใน2-4 วัน แต่หากผู้ป่วยยังไม่ทราบสาเหตุของผื่น อาจจะทำให้ โรคลุกลามมากกว่าเดิม โดยเฉพาะในบ้านเราที่ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงสเตียรอยด์กันอย่างเสรี มีทั้งริมถนน บนฟุตบาท รวมทั้งห้างค้าปลีกค้าส่งมากมาย และที่มาในรูปแอบแฝงยิ่งน่ากลัว เช่นครีมหรือยากินสมุนไพรต่างๆ ก็มักจะมีสารสเตียรอยด์ปลอมปน โดยไม่บอกกล่าวผู้บริโภค

3.การรักษาแนวใหม่ โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ (ตามภาพ) ซึ่งยังอยู่ในขั้นวิจัย และค้นคว้าต่อไป หากท่านใดสนใจ (คือไปรักษาที่ใดๆมาหมดแล้วก็ยังไม่หายซักที) สามารถติดต่อได้ที่รพ.มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลว


 ขณะนี้ ทางโรงพยาบาล ได้เปิดให้บริการเลเซอร์รุ่นใหม่ตัวนี้ ทั้งโรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) โรคด่างขาว (Vitiligo)  ภาวะผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ ( Atopic dermatitis,Eczema ) ภาวะผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata ) ทั้งงานบริการตรวจรักษา และงานวิจัยเพื่อคนไทยโดยทั่วไป


สนใจติดต่อ โทร.089-783-9197,026644360 หรือ ที่ รพ.แม่ฟ้าหลวง (คุณน้อย) 38/11-13 อาคารอโศกเพลส ถนนอโศก สุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม.

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความลับ (การรักษา) โรคสะเก็ดเงิน(Psoriasis)




เรื่องเงินๆทองๆ ใครๆก็รักใครก็ชอบ แต่สำหรับโรคที่มีคำว่าเงินผสมอยู่ด้วยนี้ กลับเป็นที่น่ารังเกียจของคนโดยทั่วไป ใครๆก็ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น เดิมทีเราเรียกผื่นชนิดว่าโรคเรื้อนกวาง เป็นผื่นผิวหนังที่มีลักษณะ ขุยสีขาว(สีเงิน)อยู่บนผื่นแดง ขอบผื่นชัดเจน ส่วนใหญ่มักเป็นที่ศีรษะ เข่า ข้อศอก รวมถึงเล็บ และพบที่อวัยวะเพศได้ แต่จริงๆแล้วก็เป็นได้ทุกที่ โดยเฉพาะที่ที่กดทับหรือสามารถเกาได้สะดวก


สาเหตุที่พบบ่อยๆคือ

1.การกดทับ หรือการเกา(Koebner phenomenon)
2.ยาบางชนิดเช่น สารสเตียรอยด์ ยารักษาโรคหัวใจเช่นB-blocker
3.อาการติดเชื้อบางอย่าง เช่นโรคหวัด ก็สามารถกระตุ้นให้สะเก็ดเงินลุกลามได้
4.แอลกอฮอล์
5.ความเครียด 
ในปัจจุบันเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับสาเหตุทางพันธุกรรมมากขึ้น โดยมักมีหลายๆสาเหตุ

ส่งเสริมให้โรคกำเริบลุกลามมากขึ้นได้ในคนๆเดียว
           ยาหรือวิธีการรักษาโรคที่มีในปัจจุบัน ไม่สามารถแก้ที่ต้นเหตุของโรคได้ เพียงบรรเทาอาการซึ่งพอหยุดยา ผื่นจะเห่อมากขึ้น และผลข้างเคียงอันเกิดจากยาเหล่านี้ก็มีมากมาย เช่นผิวบาง ผิวแพ้ง่าย ผื่นลุกลามมากกว่าเดิมหลายเท่าตัว
ล่าสุดเดือน  ในงานประชุม AAD แพทย์ผิวหนังทั่วโลกมาสัมมนาวิชาการที่อเมริกาจำนวนมาก  มีการกล่าวถึงยาBiologic Treatment อย่างกว้างขวาง ซึ่งให้ผลการรักษาที่หายเร็วมาก แต่ไม่หายขาด พอหยุดยาก็จะเห่อใหม่อย่างรวดเร็ว
และราคาแพงมาก ผลข้างเคียงก็อาจทำให้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเช่นวัณโรค หรือการติดเชื้อในกระแสเลือด รวมทั้งพบความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าใช้ยานี้ในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ซึ่งUS FDA ได้สั่งห้ามการใช้ยาRaptiva :ซึ่งอยู่ในกลุ่มยาชีวภาพ(Biological agent)เป็นการถาวรแล้ว
           โรคนี้จำเป็นต้องรีบรักษาแต่เนิ่นๆ และต้องดูแลตนเองให้ถูกวิธี มิฉะนั้น โรคเรื้อนกวางอาจลุกลามจนเป็นโรคเรื้อรังที่ยากต่อการเยียวยา  บางรายอาจมีอาการปวดข้อ ข้อต่อกระดูกติด บวมแดง โรคเบาหวาน โรคหัวใจแทรกซ้อน อาจพบโรคตามระบบของร่างกาย(systemic disease) อื่นๆร่วมด้วย ซึ่งการรักษายากมากขึ้นอีกหลายเท่าตัว
ทางโรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง (กทม.) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของผู้ป่วยเป็นหลัก จึงนำนวัตกรรมใหม่ เช่น เลเซอร์รักษา, การฉายแสงรักษา และวิตามินธรรมชาติสูตรเฉพาะหลายชนิดมารักษาสะเก็ดเงิน เพื่อผู้ป่วยจะสามารถดูแลตนเองจนหายขาดได้ด้วยตนเอง ซึ่งผลเป็นที่ติดตามต่อไป
 

จากรูปด้านบนเป็นคนไข้สะเก็ดเงินคนเดียวกัน ข้อเท้าซ้ายใช้ยาสเตียรอยด์ทา เป็นๆหายๆร่วมปี พอหยุดยาจะเห่อมากกว่าเดิม แต่ข้อเท้าขวาไม่ได้ใช้ยาสเตียรอยด์ ผื่นเคยลามออกประมาณ 15cm.แล้วค่อยยุบเหลือ2cm. ปัจจุบันคนไข้คนนี้ผื่นหายสนิทแล้ว

 ขณะนี้ ทางโรงพยาบาล...  ได้เปิดให้บริการเลเซอร์รุ่นใหม่ตัวนี้ ทั้งโรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) โรคด่างขาว (Vitiligo)  ภาวะผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ ( Atopic dermatitis,Eczema ) ภาวะผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata ) ทั้งงานบริการตรวจรักษา และงานวิจัยเพื่อคนไทยโดยทั่วไป 


สนใจติดต่อ โทร.089-783-9197,  026644360  หรือ ที่ รพ.แม่ฟ้าหลวง (คุณน้อย) 38/11-13 อาคารอโศกเพลส ถนนอโศก สุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม.



วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เอ็กไซเมอร์ เลเซอร์โรคสะเก็ดเงินและด่างขาว (Excimer Laser)

 

เอ็กไซเมอร์ เลเซอร์สะเก็ดเงินและด่างขาว  (Excimer Laser)
น.พ.จรัสศักดิ์ เรืองพีระกุล
อาจารย์ประจำ รพ.มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพฯ (อโศก)
 รพ.แม่ฟ้าหลวง  38/11-13 อาคารอโศกเพลส ถนนอโศก สุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110





                เมื่อเอ่ยถึงเอ็กไซเมอร์ เลเซอร์ หลายๆคนคงนึกถึงการทำเลสิก ซึ่งจะใช้เครื่องเลเซอร์นี้ในการผ่าตัดรักษาสายตาสั้น หรือสายตายาว และสำหรับเรื่องที่จะกล่าวถึงนี้ก็ใกล้เคียงกัน แต่ไม่เหมือนกันทั้งหมด สืบเนื่องจากการรักษาโรคผิวหนังเช่น โรคสะเก็ดเงิน  โรคด่างขาว ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดที่ได้ผลชัดเจนหรือรักษาหายขาดได้ ทีมีแพร่หลายนอกจากการใช้ยาทารักษาแล้ว ในรายที่รอยโรคตอบสนองต่อการรักษาไม่ดี หรือรอยโรคกระจายกว้างมาก การฉายแสงอัลตราไวโอเลตชนิด A (ความยาวคลื่น  320-400 นาโนเมตร) หรือแสงอัลตราไวโอเลตชนิด B (ความยาวคลื่น 290-320 นาโนเมตร)  จะเข้ามามีบทบาทในการรักษาร่วมและให้ผลการรักษาที่ดีขึ้นได้บ้าง  แต่มีข้อเสียคือ  การเข้าตู้ฉายแสงอัลตราไวโอเลตอาจทำให้ผิวหนังส่วนที่ดีได้รับผลข้างเคียงจากการรักษา เช่น ผิวหนังแดงคล้ำ อาจไหม้ หรือเป็นมะเร็งผิวหนังในภายหลังได้
                ในปัจจุบัน จึงมีการพัฒนา การรักษาด้วยแสงให้จำเพาะเจาะจงต่อชนิดชองรอยโรคมากขึ้น  สามารถจำกัดพื้นที่การรักษาเฉพาะบริเวณรอยโรคได้โดยตรง  เพื่อลดผลกระทบต่อผิวหนังที่ปกติบริเวณข้างเคียงให้น้อยที่สุด โดยวิวัฒนาการล่าสุดของการใช้แสงรักษาดังกล่าวหมอขอเรียกว่า เลเซอร์แสงธรรมชาติ (เพราะเป็นแสงอาทิตย์ส่วนดี ช่วยกระตุ้นวิตามิน D และส่งเสริมการสร้างกระดูก) หรือ เอกไซเมอร์ เลเซอร์ดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว Link ที่นี่...Curable Psoriasis? Excimer Laser   มีความยาวคลื่นแสง 308 นาโนเมตร (193nmในเลสิก)  มีคุณสมบัติในการทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวผิดปกติซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดผื่นอักเสบที่ผิวหนัง จึงได้มีการนำมาใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1997 โดยนำมาใช้รักษาโรคสะเก็ดเงิน ผลการรักษาให้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ  โดยรักษา 1-3ครั้ง/สัปดาห์เป็นเวลาประมาณ  4-8 สัปดาห์  และผื่นอาจกลับเป็นขึ้นใหม่บ้าง ในเวลาประมาณ  4-6 เดือนหลังจากสิ้นสุดการรักษา

 
                 สำหรับโรคด่างขาว  เลเซอร์ชนิดนี้จะไปกระตุ้นเซลล์สร้างเม็ดสี(melanocyte) ที่อยู่บริเวณรากขนให้เคลื่อนตัวมาอยู่บริเวณชั้นผิวหนังบริเวณรอยโรค ผลการรักษาได้ผลดี พบการกลับมาของสีผิวตั้งแต่  57-100% ภายหลังการรักษา โดยเฉพาะรอยโรคบริเวณใบหน้าที่มีการกลับมาของสีผิวเกือบ 100%  โดยทำการรักษา 1-3 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 1-6 เดือน  และมีการรายงานการกลับมาของรอยโรคด่างขาวประมาณ 15%  ที่เวลา 1-3 ปี หลังจากสิ้นสุดการรักษา ผลข้างเคียงหลังการรักษาที่พบได้ ไม่รุนแรง มักพบเป็นเพียงรอยแดงชั่วขณะ  อาการอื่นๆ เช่น ตุ่มพองหรืออาการคันพบได้น้อยมาก  ส่วนข้อห้ามสำหรับการใช้  Excimer laser  คือ  ผู้ที่มีภาวะแพ้แสง (Photosensitization)  นอกจากนี้ยังมีโรคอื่นๆ อีกที่นำประยุกต์รักษาได้  ได้แก่ ภาวะผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบ ( Atopic dermatitis ) และ ภาวะผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata ) ซึ่งให้ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจเช่นกัน
                  U.S. FDA  หรือองค์การอาหารและยา  ประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับรองการใช้เลเซอร์ชนิดนี้  ในการรักษา โรคสะเก็ดเงินและโรคด่างขาวแล้ว เป็นเลเซอร์ชนิดที่มี ความแม่นยำสูง โดยไม่ก่อให้เกิดความร้อนหรือเกิดการทำลายเนื้อเยื่อ บริเวณข้างเคียง จึงมีความปลอดภัยสูง และมีผลข้างเคียงน้อย โดยเฉพาะเครื่องเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) รุ่นใหม่นี้ มีคุณสมบัติที่โดดเด่น มากกว่าเครื่องเลเซอร์รุ่นอื่นๆ คือ มีความละเอียดและแม่นยำสูงมาก(Aiming Beam)  และด้วยความโดดเด่นที่ขนาดและลักษณะของจุดยิงของเลเซอร์ ทำให้พลังงานออกมาสม่ำเสมอ (Flat top Beam) ทำให้เพิ่มความมั่นใจและความปลอดภัยได้เป็นอย่างดี

 
                ขณะนี้ ทางโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพฯ ได้เปิดให้บริการเลเซอร์รุ่นใหม่ตัวนี้ ทั้งโรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) โรคด่างขาว (Vitiligo)  ภาวะผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ ( Atopic dermatitis,Eczema ) ภาวะผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata ) ทั้งงานบริการตรวจรักษา และงานวิจัยเพื่อคนไทยโดยทั่วไป
กิตติกรรมประกาศ
               ผู้เขียนขอขอบคุณ พญ.ลาวัณย์ฉวี ยรรยงเวโรจน์  นักศึกษาปริญญาโท สาขาตจวิทยา สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (กทม.)ที่ได้ช่วยรวบรวมข้อมูลประกอบการเขียนในครั้งนี้

สนใจติดต่อ โทร.089-783-9197, 026644360 หรือ ที่ รพ.แม่ฟ้าหลวง (คุณน้อย) 38/11-13 อาคารอโศกเพลส ถนนอโศก สุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม.
เอกสารอ้างอิง
1.       Passeron & Ortonne, (2006)  Use of the 308-nm excimer laser for psoriasis and vitiligo ,
Clinics in Dermatology, 24(1);3342
2.       J Am Acad Dermatol.  2009Mar;60(3):470-7
 3.      J Am Acad Dermatol. 2010 Jan;62(1):114-35

ติดตามเพิ่มเติมที่นี่...Curable Psoriasis?

 http://jaratsak.blogspot.com/2011_08_01_archive.html

และที่นี่... http://www.mfu.ac.th/other/hospital-bkk/admin/uploadCMS/upload/NnMon65115....PDF


วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ร้อยไหมละลายยี่ห้อไหนดี What is the best Thread (TM) in Thailand?


         สืบเนื่องจาก งานอบรมไหมละลาย ที่ผมได้รับเชิญให้ไปบรรยาย เผยแพร่ความรู้ให้แก่คุณหมอทั่วประเทศ ในแต่ละครั้งจะมีคุณหมอเข้าฟัง ประมาณตั้งแต่ 10-300 ท่าน รวม 10 กว่าคอร์ส คุณหมอที่เข้าฟังรวมแล้วประมาณ 1000 กว่าคน หลายๆครั้ง และเกือบทุกๆการประชุมที่ผ่านมา มักมีจะมีคำถามกันมามาก  ว่าจะเลือกไหมยี่ห้อไหน  ไปใช้ที่คลินิก หรือโรงพยาบาลดี หรือแม้กระทั่งคนไข้ หรือลูกค้าเองก็ตาม มักให้ผมเลือกยี่ห้อไหมให้ ผมเองก็ตอบได้ไม่ค่อยเต็มปากนัก เพราะไหมละลายแต่ละยี่ห้อที่ได้รับอนุญาตจาก อย. ในบ้านเรา ก็จะมีจุดเด่น และจุดด้อยต่างกัน  เพื่อความกระจ่างชัดของข้อมูลเหล่านี้ ผมจึงเก็บรวมรวมจากคุณหมอที่มีประสบการณ์ ในการใช้ไหมครบ ทั้ง 3 ยี่ห้อในเมืองไทย(ยี่ห้ออื่นๆที่ไม่ได้นำมารายงาน ไม่ใช่เป็นเพราะไม่ดีนะครับ แต่เพราะยังไม่ได้รับอนุญาตจาก อย.) ที่ได้รับอนุญาติถูกต้องจาก อย.แล้ว ว่าเป็นเครื่องมือแพทย์ และสามารถนำมาใช้ในคนได้ โดยไม่ผิดกฏหมาย....................
ต่อไปนี้เตรียมพบกับผลการศึกษา วิจัย เปรียบเทียบข้อมูล ไหมละลายต่างๆที่ได้รับการรับรองจากอย. ไทย และเกาหลี เร็วๆนี้จะมีรายละเอียดเพิ่มเติม

สนใจติดต่อ โทร.089-783-9197 หรือ ที่ รพ.แม่ฟ้าหลวง (คุณน้อย) 38/11-13 อาคารอโศกเพลส ถนนอโศก สุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม.

วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ร้อยไหม ไม่ดี มีอันตรายจริงหรือไม่ ?

โดย พญ.ศิริวรรณ กูรมะสุวรรณ
น.พ.จรัสศักดิ์ เรืองพีระกุลและทีมงาน
       เป็นประเด็นที่ร้อนแรงที่สุดในเดือนนี้ (มิ.ย.55)  พบใครที่ไหนก็มีแต่คนถามโดยเฉพาะใน pantip......ลองมาแบ่งปันกันนะครับ (shareแล้วจะกด LIKE ก็ได้นะ 55)
       ถ้ามีคนถามเราว่า ขับรถเบนซ์ อันตรายไหม? แน่นอน ถ้าขับไม่เป็น แล้วดันทุรัง หรือคนขับรถ เพิ่งจะฝึกหัดใหม่ๆ  หรือว่า..เมาแล้วขับ ชีวิตย่อมอยู่บนเส้นด้ายได้ฉันใด การร้อยไหม ก็ฉันนั้น ที่เปรียบรถยี่ห้อ เบนซ์ ก็เนื่องจาก รถยนต์มีหลายแบรนด์ ไหมก็มีหลายยี่ห้อ และ หลายประเภท    PDO หรือ Polydioxanone จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ประเภทหนึ่งที่ได้รับการยอมรับกันทั่วโลกว่า เป็นวัสดุเย็บแผล (suture material) ที่ดีที่สุดในทุกด้าน**(1)  มีประสิทธิภาพสูงสุด(best tensile strength) แพ้น้อยที่สุด( least allergy) ติดเชื้อน้อยที่สุด (minimal infection) เมื่อเปรียบเทียบกับไหมอีก 5 ประเภทที่ได้รับความนิยมก็สู้PDOไม่ได้ และมีรายงานทางการแพทย์มากมายที่นำเอา PDO มาเป็นโครง(scaffold)เพื่อให้ stem cell **(2) ยึดเกาะเพิ่มจำนวนอย่างมีระบบ และสร้างเป็นอวัยวะที่สมบูรณ์อย่างมีระเบียบ  แต่ที่สังคมติดใจ ในคำถามที่จั่วหัวเรื่องไว้เพราะอะไร  ที่เป็นเช่นนั้นเพราะทุกวันนี้ ชาวบ้านมีเรื่องร้องทุกข์เข้าร้องเรียนไปยัง หน่วยงานของรัฐ เช่น อย.และแพทยสภาเป็นจำนวนมาก  ทำให้สังคมเกิดคำถามคาใจ ไหนหมอที่ร้อยไหมบอกว่าดีไง ?แล้วความจริงเป็นเช่นไร  ลองมาดูกันนะครับ
 ต่อไปนี้เป็นคำตอบ ที่ผมรวบรวมอันตรายอันอาจเกิดขึ้นได้จากการร้อยไหม(ถ้าไม่ระวัง!!) มีดังนี้
1.ตาบอด (blindness) ถาวร
2.หน้าพิการ เช่นปากเบี้ยว หน้าไม่สมมาตร (asymmetrical  face)
 3.ติดเชื้อเรื้อรัง  ผิวหนังอักเสบเป็นหนอง (chronic infection)
4.เกิดแผลเป็นนูน  ถ้าเป็นมากอาจเป็นคีลอยด์ได้ (hypertrophic scar,keloid)
5.เกิดรอยดำ คล้ำบริเวณที่ร้อยไหม (bronzed skin,postinflammatory hyperpigmentation)
6.เป็นรอยหลุมสิว ผิวที่เคยเรียบเนียน กลับมีรอยบุ๋มมากกว่าเดิม (uneven skin texture )
7.มีตุ่มนูนคล้ายสิว อาจแดงหรือไม่แดงก็ได้ (acne-like scar)
8.เครียด วิตก กังวล นอนไม่หลับ (psychogenic problems)
9.ผิวฟกช้ำดำเขียว บางคนนูนใหญ่เท่าลูกมะกรูดก็พบได้บ่อยๆ (severe contusion)
อันตรายข้อแรก(ตาบอด) ยังไม่มีรายงานในปัจจุบัน หรือ พวกเราจะรอจนกว่าถั่วจะสุก งาก็จะไหม้ ??
ถ้างั้นควรยกเลิกการขับรถเบนซ์กันดีไหม หรือตรงกันข้าม ควรฝึกหัดเรียนรู้ให้เป็นระบบ ก่อนที่สายเกินการณ์
แต่ก็ใช่ว่าการร้อยไหมจะเป็นอันตรายเสมอไปเพราะคิดว่าทุกท่านน่าจะทราบกันดี ผลดีจะเกิดขึ้นมากและผลข้างเคียงจะเกิดขึ้นน้อยที่สุดก็ต่อเมื่อ เราใช้ไหมที่ดีมีประสิทธิภาพสูง ทำหัตถการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านและใช้อย่างระมัดระวัง อันตรายดังกล่าวก็ไม่น่าจะเกิดขึ้น หรือเกิดน้อยที่สุด โดยสรุป......ทั้งหมดที่กล่าวมานี้  “จะดีหรือร้าย....................................... คุณคือผู้เลือก”

หมายเหตุ**คำว่าร้อยไหมในที่นี่ หมายเฉพาะ PDO เท่านั้น ไม่ใช่วัสดุ ไหมทอง goldthread,catgut,vicryl,polyglactin, polyamide, polypropyleneและmetallic clips
กิตติกรรมประกาศ
                ผู้เขียนขอขอบคุณ พญ.ศิริวรรณ กูรมะสุวรรณ อาจารย์ประจำสาขาตจวิทยา สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (กทม.)ที่ได้ช่วยรวบรวมและแก้ไขข้อมูลประกอบการเขียนในครั้งนี้


ภาคตจวิทยา รพ.มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพฯ (อโศก)




สนใจติดต่อ โทร.089-783-9197,083-785-6941 หรือ ที่ รพ.แม่ฟ้าหลวง (คุณน้อย) 38/11-13 อาคารอโศกเพลส ถนนอโศก สุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม.
(More contact:JARATSAK@GMAIL.COM)
more details....................

http://www.mfu.ac.th/other/hospital-bkk/index.php
Reference;
*(1)Significant differences in skin irritation by common suture materials assessed by a comparative computerized objective method. Plast Reconstr Surg. 2011 Mar;127(3):1191-8.
*(2)Repair of osteochondral defects with a construct of mesenchymal stem cells and a polydioxanone/poly(vinyl alcohol) scaffold. Jeong WK, Oh SH, Lee JH, Im GI. Biotechnol Appl Biochem. 20pjk’mujgxHo-jk;gl,vwx08 Feb;49:15dbf-7hoohvpg5-64.

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

ร้อยไหม ทำไมไม่ได้ผล? ทำที่ไหนดี? ไหมทองคำดีไหม?



ร้อยไหม ทำไมไม่ได้ผล? จะทำที่ไหนดี? ไหมทองคำดีไหม?

                    ช่วงนี้มีคำถามจากพวกเรามากมาย ตอบกันแทบไม่ทันเลย ตอนแรกผมเองว่าจะไม่เขียนเรื่องนี้สักพักหนึ่ง แต่เพราะความแรงของไหม เหมือนสุภาษิตที่ท่านว่า น้ำเชี่ยวอย่าเอาเรือไปขวาง ทางวงการความงามกำลังตื่นตัวกันมาก  มีหลากหลายความคิดความเห็น ของหมอและผู้เชี่ยวชาญมากมาย ที่สำคัญคือ ผลการรักษาที่ออกมาจากหลายๆแห่ง ก็เป็นเครื่องยืนยันผลตอบลัพธ์ที่แตกต่างกันมาก บางแห่งทำแล้วประทับใจสุดๆ แต่บางสถาบันก็สุดเหมือนกัน แต่สุดจะทน!! ทำให้ชาวบ้านผู้บริโภคทั่วไป กำลังสับสนว่าเกิดอะไรขึ้น จะเชื่อใครดี ? บางคลินิก ก็เปลี่ยนเกม ด้วยการเอาไหมทองคำมาเป็นจุดขายใหม่ (ทั้งที่ไม่ผ่าน อย. ไทย และอย.เทศ) 

ที่เป็นเช่นนี้เพราะการร้อยไหมนั้น มีรายละเอียดที่เรายังรู้กันไม่หมด ที่เราทราบกันมีเพียงว่า ไหมราคาเส้นละเท่าไร ,หลังร้อยไหมแล้วจะมีคอลลาเจนเพิ่มขึ้น ทำให้ผิวตึงขึ้นอย่างไร , มีคลินิคไหนโฆษณาและเปิดให้บริการบ้าง หัวข้อคร่าวๆเหล่านี้เรารู้กันดีแล้ว
 



แต่สิ่งที่เรายังไม่ค่อยทราบกัน ว่าทำไมไม่ได้ผล ก็ได้แก่
 1.ขนาดเล็ก หรือใหญ่ของเข็มและความหนาไหม มีผลต่อการยกกระชับผิว (เข็มมีประมาณ 5 ขนาด,ไหมมีความหนา 6 ขนาด หนาตั้งแต่ 7-0 ถึง 2-0)
2.ความยาวของเข็มและไหมที่ใช้  ถ้าใช้ไหมสั้น ราคา(ที่ผู้รับบริการจ่าย) ย่อมแพง เพราะต้องใช้ไหมจำนวนเยอะกว่า และเห็นผลน้อยกว่า(ทั้งนี้การเลือกใช้ไหมแบบใดขึ้นกับตำแหน่งที่จะร้อยไหมและปัญหาเฉพาะรายบุคคล)
3.เทคนิคการร้อยไหม (PDO Thread lift) ที่มีมากมายกว่า 10 แบบ เช่นการร้อยขึ้น หรือร้อยลง,การร้อยแบบตารางเหมือนสานเสื่อ(crosshatch) ,การร้อยแบบด้น (sound wave) หรือ ร้อยแบบใส่ไหมตรงๆ (fine thread lift,FTL) ต่างกันมั้ย ไหมใกล้จะดึงไหมไกล? หรือไหมลึกจะดึงไหมตื้นจริงไหม? การใส่ไหมเข้าในกล้ามเนื้อ ตรงไหนดีที่สุด? การใส่ไหมตามแนวขน มีผลที่ได้ต่างจากทิศตรงข้ามไหม? หรือการร้อยไหมในผิวชั้นหนังแท้ ,ชั้นไขมัน ,ผิวชั้นลึก(SMAS),หรือการเกี่ยวligament ที่หน้า,etc เหล่านี้ยังมีอีกรายละเอียดอีกมากมายที่เราต้องพิจารณา หาคำตอบกัน
 
4.จำนวนเส้นไหมที่ได้ใส่บนใบหน้า แต่ละตำแหน่ง แต่ละคน ย่อมไม่เท่ากัน ขึ้นกับความรุนแรงของปัญหาที่จะแก้ไข และสภาพผิวหนังของแต่ละบุคคล
5.ไหมpolydioxanone (PDO) ที่ผ่าน อย. ในเมืองไทยขณะนี้มี 3-4 ยี่ห้อ botox ของอเมริกา ต่างจาก botox ของจีนแดง ฉันใด ไหมแต่ละแบรนด์ย่อมแตกต่างกันฉันนั้น ทั้งความคมของเข็ม ความหนาและความเหนียวของไหม การเลือกใช้ไหมละลายแต่ละค่าย แต่ละเบอร์ ย่อมได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันอย่างแน่นอน
6.การดูแลก่อน-หลังทำหัตถการ ดูแลและเตรียมตัวได้ถูกต้องไหม การกินยาบางชนิดทำให้ผิวหนังเราช้ำง่าย เลือดออกง่ายผิดปกติ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งสภาพพื้นฐานของผิวหนังแต่ละบุคคล บางคนมีโรคประจำตัวเช่น ความดันหรือเบาหวาน ก็ไม่แนะนำให้ทำ เพราะอาจทำให้ผิวช้ำง่าย จากการกินยาละลายลิ่มเลือดบางชนิด


ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ เราๆท่านๆคงต้องพิจารณากันให้ดีนะครับ

โดย น.พ.จรัสศักดิ์ เรืองพีระกุล 

สนใจติดต่อ โทร.089-783-9197,   026644360หรือ ที่ รพ.แม่ฟ้าหลวง (คุณน้อย) 38/11-13 อาคารอโศกเพลส ถนนอโศก สุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม.




(More contact:JARATSAK@GMAIL.COM)
more details....................

http://www.mfu.ac.th/other/hospital-bkk/index.php